วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การวัดกระแสไฟของพาวเวอร์ชัพพลาย


          สวัสดีคะ ทุกท่าน
          ในครั้งที่แล้วเราได้ทำการเปลี่ยนพัดลมพาเวอร์ชัพพลายกันไปแล้ว สำหรับครั้งนี้เราจะมารองวัดกระแสไฟของพาวเวอร์ชัพพลายกันดูคะ ว่าในแต่สายมีกระแสไฟกี่โวต์

          สำหรับพาวเวอร์ชัพพลาย จะมีรายละเอียดบอกกระแสไฟ ว่าแต่ละสีมีกระแสไฟเท่าไร


เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบกระแสไฟ ครั้งนี้ คือมัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดกระแสไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เป็นแบบดิจิตัล

          ก่อนที่เราจะทำการวัด ควรถอดพาวเวอร์ชัพพลายออกมาไว้นอกเคสก่อนคะนะ แล้วเสียบปลั๊ก
แล้วเสียบลวดหรือโลหะเข้าไปที่ พินที่ 4 กับ พินที่ 5

เป็นเสมือนการเปิด ถ้าพัดลมทำงานแสดงว่าไฟเข้า พาวเวอร์ชัพพลายทำงานปกติพร้อมที่จะทำการวัดกรแสไฟฟ้าแล้ว

เริ่มกันเลย!!!
ขั้นแรกการเตรียมเครื่องวัดไฟโดยการเปรียบค่าไปที่ 20 เพื่อให้ค่าเป็น 0.00 โวต์

ส่วนสายสีแดงและสายสีดำเป็นสายที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า สายสีดำจะมีค่าเป็นลบและสานสีแดงจะใช้ค่าเป็นบวก

เราจะใช้สายสีแดงในการวัดกระแสไฟส่วนสายสีดำเราจะเสียบไว้บนพาวเวอร์ชัพพลายเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง เราจะวัดค่าไปที่ละช่องไล่ไปที่ละสีแล้วบันทึกค่าลงในกระดาษเพื่อเปรียบเท่าค่าของกระแสไฟฟ้าที่วัดได้กับที่ระบุไว้ข้างตัวพาวเวอร์ชัพพลาย




ในบางสายอาจจะมีค่าคาดเคลื่อนจากที่บอกไว้ข้างพาวเวอร์ชัพพลายนั้นเป็นเพราะกระแสไปที่เข้าไปในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน 




        
  ต่อไปเป็นวิดีโอที่เราได้ถ่ายตอนที่ทำการวัดกระแสไฟ


สำหรับบล็อกนี้ต้อง ขอบคุณ ช่างภาพ ขอบคุณ ความรู้จากรอบข้าง





วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การทดสอบเปิด - ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกเคส

สวัสดีค่ะ

        ครั้งนี้นะคะ เราจะมาทำการทดสอบการเปิด - ปิดเครื่องนอกเคสกันค่ะ



เริ่มแรกเราต้องทำการถอดชิ้นส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเคสมาวางไว้ข้างนอกก่อน


เมื่อเราถอดทุกอย่างออกมาแล้ว เราก็จะมาทำการประกอบอุปกรณืต่างๆ นี้เข้าด้วยกันนะคะ โดยการประกอบนอกเคส ก่อนที่เราจะประกอบ เราควรศึกษา Data sheet ของตัวเมนบอร์ด เครื่องของเราก่อนนะคะ สำหรับเมนบอร์ด ที่เราใช้ในครั้งนี้ คือ ASUS P4S333-VM ตัว  Data sheet นี้จะบอกถึงรายละเอียดต่างของเมนบอร์ด เช่น การต่อพาวเวอร์ชัพพลาย CPU ขนาดของแรมและ ฮาร์ดิสที่ใช้กันเมนบอร์ดอันนี้ได้ เป็นต้น 






เมื่อเราต่อทุกอย่างเข้าเสร็จแล้วนะคะ มาถึงขั้นตอนการทดสอบ เครื่อง ในส่วนการเปิดเครื่องอาจจะมี คำถามว่าเราจะเปิดอย่างไง เพราะการที่เราถอดอุปกรณ์ทั้งหมด มาประกอบกันนอกเคส แบบนี้ไม่มี สวิตเปิด-ปิดเครื่อง เราต้องกลับไปดูที่ Data sheet ดังรูป

เราจะเห็นว่า พินที่ 4 กับ 5 เป็น พินที่ต่อเข้ากับ Power Switch หรือสวิตเปิด - ปิดที่อยู่ตรงเคส และพินที่ 1กับ 2 เป็นพินรีเซ็คเครื่อง แต่ในที่นี้เราไม่ได้ต่อเข้ากันเคส 
     การจะเปิดเครื่องได้ เราจะใช้ไขควงแตะไปที่ พินตัวที่ 4 กับ 5 ไขควงที่ใช้เป็นไขควงปากแบบ หรือแบบอื่นก็ได้นะคะ ที่พอจะแตะทั้ง 2 พินได้พร้อมกัน

งั้นเรามาเริ่มการทดสอบเครื่องกันเลย!!!

ก่อนจะทดสอบอย่างลืมเสีบยปลั๊กไฟก่อนนะ
สังเกตว่าพัดลมพาวเวอร์ชัพพลายหมุนและมีไฟสีเขียวขึ้นที่เมนบอร์ด แสดงว่าไฟเข้าพร้อมที่จะเปิดเครื่องแล้ว




เริ่มทำการทดสอบได้
                การเปิดเครื่อง โดยการใช้ไขควงแตะที่พินที่ 4 กับ 5
                การรีเซ็ตเครื่อง โดยการใช้ไขควงแตะที่พินที่ 1 กับ 2
                การปิดเครื่อง โดยการใช้ไขควงแตะค้างไว้ที่พินที่ 4 กับ


สำหรับการเปิด - ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคส ขอจบไว้พอเท่านี้

*...................................*
หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ขอบคุณทุกท่านนะคะที่เข้ามาอ่านบล็อกนี้จนจบ

                                       ทีมงาน ม้าง ลื้อ พัง








วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเปลี่ยนพัดลม พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

การเปลี่ยนพัดลม พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

"สวัสดี ค่ะ"


          ก่อนที่เราจะทำการเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย เรามาทำความรู้จักกับพาวเวอร์ชัพพลายกันก่อนนะคะ 

พาวเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
พาวเวอร์ชัพพลายเป็นอุปกรณ์ที่ถือว่ามีความทนทานมาก น้อยครั้งที่พาวเวอร์ชัพพลายจะพัง ปัญหาของพาวเวอร์ชัพพลายส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับตัวพัดลมของตัวพาวเวอร์ชัพพลายมากกว่าที่จะมีปัญหา เราจึงต้องที่การซ้อมเปลี่ยนพัดลมของพาวเวอร์ชัพพลายก่อนทำการเปลี่ยนพัดลมเรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ในการเปลี่ยนพัดลมกันก่อนเลย
 

                                                                                                   ตะกั่วบัดกรี                                                  หัวแร้ง

                   
                                            ที่วางหัวแร้ง                                           น้ำยาประสาน
ที่ดูดตะกั่ว

เมื่อเรารู้จักอุปกรณ์กันแล้วนะคะ มาทำความรู้จักกับตัวพัดลมของพาวเวอร์ชัพพลายกันเลยค่ะ

                                                                                                                          เริ่มแรกคะนะ  เราก็ต้องทำการถอดตัวที่ครอบพาเวอร์ชัพพลายออกก่อนนะคะ ก่อนที่เราจะทำการถอดเราควรเช็ตให้ แน่ใจก่อนคคนะ ว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าตกค้างอยู่ หลังจากที่เราถอดปลั๊กไฟออกแล้วก่อนควรจะรอสักพักให้กระแสไฟหมด  ก่อนค่อยการทำการแกะนะคะ
ภายในพาวเวอร์ชัพพลาย


เราจะสังเกตเห็นสายไฟที่ต่อพัดลมกับแผนวงจรมี เส้น สีแดงกับสีดำ สีแดงจะเป็นขั้วบวก (+) ส่วนสีดำจะเป็นขั้วลบ(-


เป็นแผนวงจรเล็ก ๆ ที่เชื่อมติดสายไฟของตัวพัดลม




แล้วเราก็ใช้หัวแร้งละลายตะกั่วที่เชื่อมทั้ง สายออก โดยใช้ที่ดูดตะกั่ว ดูดตะกั่วออก เมื่อถอดสายไฟแล้วก็ทำการเปลี่ยน พัดลมตัวใหม่ใส่เข้าไป

แล้วเชื่อมสายไฟเข้ากับแผนวงจร ด้วยการละลายตะกั่วบัดกรียืดไว้ให้เหมือนเดิม


วิธีการตรวจสอบว่าพัดลมพาวเวอร์ชัพลายที่เราต่อใหม่ใช้ได้หรือไม่ ก่อนเก็บเข้าเคส คือการใช้โลหะอะไรก็ได้ เสียบเข้ากับสายพาวเวอร์ชัพพลายที่ต่อกับเมนบอร์ดที่พิน ที่ 4 กับ ด้านที่มีแง้ล็อก แล้วเสียบปลั๊กไฟดูว่าพัดลม ทำงานหรือเปล่า ระหว่างการทดลองไม่ความใช้มือจับที่ตัวพาวเวอร์ชัพพลาย เพราะทำให้ไฟซ็อตได้
ถ้าสำหรับใครที่ไม่มีชุดบัดกรี การเปลี่ยนพัดลมง่ายๆ วิธีหนึ่งนะคะ คือการตัดสายไฟแล้วลอกตัวที่หุ้มสาย ออกให้เหลือแค่สายทองแดงค่ะ แล้วนำมาต่อกัน โดยเส้นแดงต่อกับเส้นแดงและเส้นดำต่อกับเส้นดำ จากนั้นใช้เทปพัน สายไฟพันอีกที เป็นอันเสร็จค่ะ

มันไม่ยากเลยใช่ไหมค่ะ กับการเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ชัพพลาย มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะกล้า กล้าหรือเปล่าที่จะลอง ขอแค่คุณอย่าลืมถอดปลั๊กไฟตอนเปลี่ยนก็พอ

ขอขอบคุณทุกท่านนะคะที่เข้ามาอ่านบล็อกนี้ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ


                                         ไม่ลอง ไม่รู้ ไม่ดู ไม่เห็น
                                             ไม่ทำก็ไม่เป็น
                                อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น ก็ต้องลอง