วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ในงบ 17500 ค่ะ 
ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่เราจะซื้อกันนี้นะคะ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานแบบ Home Office ค่ะ


ตามภาพข้างต้น
CPU เราเลือกเป็น INTEL Core i3-4130  ในราคา 3,980 บาท  ซึ่งเป็นซีพียู รองรับการทำงานด้านความบันเทิง มัลติมีเดีย ใช้งานทุก ๆ วันรวมไปถึงการทำงานกับโปรแกรมที่มีการมวลผลซับซ้อน เช่น โปรแกรมแต่งภาพกราฟิกต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยความเร็วในการประมวลผลค่อนข้างสูง
ด้านความเร็วในการประมวลผลของ Intel Core i3-4130 Processor ถือว่ามีประสิทธิภาพพอสมควรเนื่องจากเป็นซีพียูแบบ Dual Core ความเร็ว 3.4 GHz มาพร้อมกับเทคโนโลยี Hyper-Threading Technology และยังมี Cache อีก 3MB ทำให้การตอบสนองคำสั่งต่าง ๆ นั้นมีความรวดเร็ว เมื่อใช้งานกับการชมภาพยนตร์รายละเอียดสูง จะทำให้ภาพที่แสดงออกมามีความไหลลื่น การเปิดโปรแกรมต่าง ๆ ลดระยะเวลาในการโหลดได้ดี รวมถึงโปรแกรมตัดต่อวีดีโอและภาพกราฟิกนั้น ลดระยะเวลาในการประมวลผลได้มากทีเดียว

นอกจากการประมวลผลคำสั่งทั่วไปแล้ว Intel Core i3-4130 Processor นั้นยังมาพร้อมหน่วยประมวลผลกราฟิกภายในตัว Intel HD Graphics 4400 ที่มีความเร็วในการประมวลผลกราฟิกเริ่มต้นที่ 350 MHz และสามารถเร่งความเร็วในการประมวลผลได้สูงสุดถึง 1.15 GHz แน่นอนว่าสามารถนอกจากจะรองรับการใช้งานด้านมัลติมีเดียพวกภาพยนตร์ต่าง ๆ ยังสามารถใช้กับการเล่นเกมได้ดีในระดับหนึ่ง  
Specifications
Processor Number
i3-4130
#of Cores
2
Specifications
#of Threads
4
Clock Speed
3.4 GHz
Cache
3 MB
Instruction Set
64-bit
Processor Graphics
Intel HD Graphics 4400
Graphics Base Frequency
350 MHz
Graphics Max Dynamic Frequency
1.15 GHz

เมนบอร์ด เราเลือกเป็น ASROCK H81M-VG4 R2.0 ในราคา 1,490 บาท เพราะมีคุณสมบัติดังนี้



          แรม เราเลือกเป็น G.SKILL G.SKILL AEGIS DDR3 8GB 1600 ในราคา1,400 บาท เพราแรมรุ่นนี้ มีความจุ 8 GB RAM Bus = 1600



          การ์ดจอ เลือกเป็น HIS R7 250 IceQ Boost Clock ในราคา 2,960 บาท เพราะมีคุณสมบัติดังนี้


          ฮาร์ดดิส เลือกเป็น TOSHIBA 500GB ในราคา 1,460 บาท เพราะมีความจำเท่ากับ 500 GB ไม่มากไม่น้อยเกินไป สำหรับการทำงานเกี่ยวกับ Office

SSD เลือกเป็น KINGSTON V300 60GB ในราคา 1,290 บาท เพราะมีความจำเท่ากับ 60 GB ราคาไม่สูงมาก

เคส เลือกเป็น THERMALTAKE Versa ในราคา 1,450 บาท เราเลือกเคสตัวนี้ตามความชอบและราคาที่พอดูได้

พาวเวอร์ซัพพลาย เลือกเป็น DELUX V6 550W ในราคา 890 บาท ออกแบบมาให้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์พีซีเดสก์ทอปทุกประเภท มีวงจรแปลงกระแสไฟฟ้าแบบ Passive PFC ที่โดดเด่น ให้ค่า efficiency ได้ในระดับ 80% ซึ่งถือว่าเป็นอยู่ในระดับมาตรฐานของเพาเวอร์ซัพพลายที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ลดการสูญเสียพลังงานขณะแปลงกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้นิ่งสนิทด้วยวงจรแบบ 2 เฟส ป้องการกันการรบกวนกันของไฟแต่ละเฟส มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ภายในในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับพลังงานราบเรียบอย่างอย่างสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับการอัพเกรดทดแทนเพาเวอร์ซัพพลายติดเคสเดิมๆ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า รองรับการจ่ายกระแสไฟให้กับซีพียูแบบ Multi-core ทั้งแพลตฟอร์ม AMD และ Intel ได้ทั้งหมด ที่สำคัญคือราคาถูก

จอภาพ เลือกเป็น BENQ ในราคา 2,520 บาท มีคุณสมบัติพอใช้ เหมาะสมกับการใช้งาน

ถ้าเราจะทำการอัพเกรดคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเล่นเกม ในราคา 21,000 บาท
เราจะอัพเกรด CPU จาก INTEL Core i3-4130  เป็น INTEL Core i5-6400 เพื่อเริ่มความเร็วในการประมวนผล เปลี่ยน การ์ดจอ จาก HIS R7 250 IceQ Boost Clock เป็น SAPPHIRE R7 360 NITRO x 1ซึ่งจะมีความเร็วในการแสดงผลกราฟฟิกมากกว่า เพิ่มความจุของฮาร์ดดิสเป็น 1 TB และเปลี่ยนจอภาพเป็น SAMSUNG S19A300B เพิ่มความละเอียดของภาพให้ดูสวยขึ้น


คอมพิวเตอร์ที่เราจัดสเปคใหม่ใน บง 21,000 บาท สำหรับคนที่เริ่มเล่นเกมใหม่ คอมพิวเตอร์ที่เราจะราคารวมๆแล้วอยู่ที่ 22,460 บาท ก็เกินงบที่กำหนดไว้มานิดหนึ่งค่ะ

====================================================================== 
เว็บไซต์สำหรับจัดสเปคคอมพิวเตอร์    http://notebookspec.com/PCspec?pw=1


วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ Booting Up

       สวัสดีค่ะ พบกันอีกแล้วนะคะ สำหรับการเขียนบล็อกที่เกี่ยวการถอด-ประกอบคอมพิวเตอร์ และเรา  จะอธิบาย กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ Booting Up ว่าก่อนที่เราจะเห็นหน้า วินโดว์นี้คอมพิว เตอร์มีกระบวนการทำงานอย่างไร



1. กดปุ่มเพาเวอร์ (Power button)
2. คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณไปยังแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) โดยจะเกิดการช็อตกราวด์ที่พิน PS-ON เพื่อให้กระแสไฟครบวงจร เกิดการแปลง กระแสไฟจากกระแสไฟฟ้าสลับ ( AC : Alternating Current) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC  : Direct Current) เพื่อจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด ซีพียู การ์ดขยาย และอุปกร์อื่นๆ ด้วยปริมาณของแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม
3. เมื่อคอมพิวเตอร์ได้รับพลังงานที่เพียงพอแล้ว แหล่งจ่ายไฟไม่มีข้อผิดพลาด ก็ส่งสัญญาณโดยใช้ทรานซิสเตอร์ ไปยังเมนบอร์ดและหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ (CPU)
4. หน่วยประมวลจะล้างข้อมูลที่หลงเหลือในรีจีสเตอร์หน่วยความจำ (memory register)  และมีผลทำให้โปรแกรมเคาน์เตอร์ในซีพียู (program counter) มีค่าเท่ากับ F000 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบหก ตัวเลขนี้เป็นที่อยู่ของคำสั่งแรก (First Instruction) และเป็นการบอกให้ CPU  พร้อมที่จะประมวลผล คำสั่งที่อยู่ในไบออส (BIOS : Basic input/output system)
5. ขั้นตอนการ โพสต์ (POST : power-on-self-test) กระบวนการทดสอยตัวเอง เพื่อตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ว่าถูกต้องหรือไม่ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ผ่านการทดสอบใดๆ กระบวนการ POST มีความผิดปกติเกิดขึ้น POST (โพสต์) ที่ผิดปกติจะแจ้งเป็นรหัสเสียงเตือน (beep code)แบบต่างๆออกมา
         6 ถ้าคอมพิวเตอร์ผ่านการ POST ก็จะมองไปที่ 64 ไบต์แรกของหน่วยความจำที่อยู่ในชิป CMOS ซึ่งเก็บรักษาค่าที่เก็บไว้ให้คงอยู่ตลอดด้วย แม้คอมพิวเตอร์ถูกปิดหรือไม่มีไฟจ่ายเข้ามา ชิปนี้จะบรรจุข้อมูลเช่นเวลาระบบ และวันที่ และข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่ติดตั้งในเครื่องนี้
           7. ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับการบู๊ตระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือซีดีรอม โดยที่ไบออสจะมีความสามารถในการติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้
8. ต่อมา POST จะตรวจสอบนาฬิกาเวลาจริง และระบบบัสคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองอย่างนี้ทำงานอย่างเหมาะสมบนเครื่องคอมพิวเตอร์
         9. ต่อมา BiOS ตรวจสอบ เพื่อดูว่าเป็นบูตเย็น (cold boot) หรือ บูตอุ่น (warm boot : หรือรีบูต) โดยดูที่ตำแหน่งที่อยู่หน่วยของความจำ 0000 : 0472ถ้าเห็นเป็น 1234h BIOS จะรู้ว่านี่คือการรีบูตและจะข้ามขั้นตอนของการโพสต์ (POST) ที่เหลือไปหากไม่เห็น 1234h ไบออส (BIOS) จะรู้ว่านี่คือการบูตเย็น (cold boot) และจะทำงานต่อไปตามขั้นตอนการ POST (โพสต์) เพิ่มเติม ถัดไปก็จะทดสอบหน่วยความคอมพิวเตอร์ (RAM)ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์โดยการเขียนลง (writing) ในแต่ละซิป ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าเราสามารถดูการดำเนินการขั้นตอนนี้ได้ในขณะหน้าจอนับหน่วยความจำที่ติดตั้งทั้งหมดในขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังบูต
         10. สุดท้าย POST (โพสต์) จะส่งสัญญาณไปยังฟลอปปี้ (floppy) ออฟติคไดรฟ์ (optical) และฮาร์ดไดรฟ์ (hard drive) เพื่อที่จะทดสอบไดรฟ์เหล่านี้ หากไดรฟ์ทั้งหมดผ่านการทดสอบ, กระบวนการPOST (โพสต์) ก็จะเสร็จสมบูรณ์ และสั่งคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นกระบวนการของการโหลดระบบปฏิบัติการ

แผนภาพกระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ Booting Up









วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

การสอบ ถอด -ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะ   จากบล็อกก่อนๆที่เราได้ทำอะไรอับคอมพิวเตอร์หลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทั้งถอด ประกอบ งัดแงะ สาระพัด และครั้งนี้ก็มาถึงการทดสอบการถอดประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ภาย ในเวลาที่กำหนด ถือว่าเป็นเรื่องที่กดดันและตื่เต้นมาก ยิ่งต้องทำเป็นคนแรกของกลุ่มยิ่งตื่นเต้น เข้าไปอีก แต่เราก็ต้องผ่านมั้นไปให้ได้ งั่นไปดูถอดประกอบเครื่องคอมพิวเตอ่์กับเลย



      เครื่องที่เราได้ทำการสอบไม่ใช้เครื่องที่เราใช้ประกอบทุกครั้ง เราจึงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ อุปกรต่างๆ ว่าอยู่ตรงไหน และถอดแบไหนอะไรก่อน 
สำหรับประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้เราได้บทเรียนอย่างหนึ่ง คือ 
เราไม่ควรขยันอยู่กับที่ ออกเดินไปเยี่ยมเยือนกลุ่มอื่นบางก็จะดี!!